วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2558

รู้จักกับฟิ ล์มลามิเนต (Laminated Films)


     ฟิล์มพลาสติกสามารถผลิตได้จากเม็ดพลาสติก หลายชนิด ทั ง Polyester (PET), Polypropylene (PP), Polyethylene (HDPE, LDPE, LLDPE) PolyvinylChloride (PVC) โดยฟิ ล์มที่ผลิตจากพลาสติกแต่ละชนิด จะมีคุณลักษณะเฉพาะตัวตามคุณสมบัติของฟิล์มที9 แตกต่างกันออกไป เช่น คุณสมบัติทนความร้อน ป้ องกัน การกัดกร่อนจากสารเคมี ป้ องกันไฟฟ้ าสถิตย์ การหดตัว เมื่อโดนความร้อน การป้ องกันการซึมผ่านของก๊าซ อ๊อกซิเจนหรือคาร์บอนไดออกไซด์ ปัจจุบันฟิ ล์ม พลาสติกได้ถูกนํามาใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรม บรรจุภัณฑ์ เช่น นํามาผลิตเป็ นถุงพลาสติก ซองพลาสติก หรือถูกนํามาทอเป็ นกระสอบเป็ นต้น โดย ฟิ ล์มพลาสติกที่ใช้สําหรับผลิตบรรจุภัณฑ์สามารถผลิต ได้จากฟิ ล์มหลากหลายประเภทขึ้ นอยู่กับความต้องการของผู้ผลิต เช่น ฟิ ล์มยืด ฟิล์มหด และฟิล์มลามิเนต (Laminated Films) ก็เป็นหนึงในฟิล์มหลายๆ ประเภทที่ได้รับความนิยมในการนํามาใช้ผลิตเป็ นบรรจุภัณฑ์ใน ปัจจุบัน




ฟิล์มลามิเนต
     ลามิเนต (Laminate) ตามความหมายในพจนานุกรม มีความหมายว่า “การทําให้เป็นแผ่นบางๆ, ประกอบด้วยชั้นบางๆ”เช่นเดียวกับฟิล์มพลาสติกลามิเนตก็หมายถึง แผ่นฟิล์มพลาสติกที่ผ่านกระบวนการลามิเนตโดยการนําฟิล์มพลาสติกหลายๆ ชั้นมาเคลือบติดเข้าด้วยกันเป็นฟิล์มแผ่นเดียว หรือการเคลือบฟิล์มพลาสติกเข้ากับวัสดุอื่นๆ เช่น กระดาษหรือฟอยล์โลหะ โดยทําการยึดติดระหวางชั้ นฟิล์มด้วยการใช้ความร้อน หรือใช้กาว (adhesive) โดยฟิล์มลามิเนตจะมีจํานวนชั้ น ของฟิล์มมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับตามความต้องการของผู้ผลิต วัตถุประสงค์ของการผลิตฟิล์มลามิเนตในช่วงแรกก็เพื่อต้องการให้ลวดลายหรือตัวอักษรที่พิมพ์ลง ไปบนฟิล์มนั้ นสามารติดอยู่บนฟิล์มได้นานขึ้ นโดยการนําแผ่นฟิล์มมาเคลือบติดบนฟิล์มอีกแผ่นหนึ่งที่ผ่าน กระบวนการพิมพ์ลวดลายหรือตัวอักษรลงไป เพื่อ ป้องกันลวดลายของฟิล์มไม่ให้ลบเลือนจากปัจจัย ภายนอก เช่น การขีดข่วน นําและความชื้น ซึ่งการลามิเนตจะช่วยให้ลวดลายที่พิมพ์ลงไปบนฟิล์มสามารถติดทนนาน ทําให้สินค้ามีความสวยงามดูน่าใช้อีกทั้งยังช่วยยืดอายุของสินค้า (Shelf Life) ให้นานขึ้ น สําหรับวัตถุประสงค์ของการผลิตฟิล์มลามิเนต ในปัจจุบันนั้ นก็ยังคงคํานึงถึงความสวยงามค่วบคู่ไปกับ คุณภาพของฟิล์มไปพร้อมๆกัน เนื่องจากในปัจจุบัน ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์มีแนวโน้มการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก ทดแทนบรรจุภัณฑ์ประเภทอื่นๆ เช่น ขวดแก้ว กระดาษ หรือกระป๋องโลหะมากขึ นเรื่อยๆ ประกอบกับผู้บริโภค เองก็มีแนวโน้มที่จะให้ความสําคัญในเรื่องสุขภาพ อนามัยและด้านคุณภาพของสินค้ามากขึ้ น ผู้ผลิตบรรจุ ภัณฑ์จําเป็นต้องผลิตบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่สามารถตอบสนองกับความต้องการของตลาด ซึ่งเทคโนโลยีการผลิตฟิล์มลามิเนตในปัจจุบันมีการพัฒนาไปมาก โดย สามารถนําฟิล์มที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันมาผ่าน กระบวนการลามิเนตเพื่อที่จะให้ได้ฟิล์มที่มีคุณภาพสูงมากขึ้ น ช่วยในด้านการปกป้องสินค้าที่บรรจุภายในให้ รักษาคุณภาพภาพเอาไว้ รวมถึงรูปลักษณ์ของบรรจุ ภัณฑ์ที่จะต้องดูสวยงามดึงดูดให้ผู้บริโภคมาซื้อสินค้า

ประเภทของฟิล์มสําหรับการลามิเนต
     ประเภทของฟิล์มที่นํามาเข้ากระบวนการลามิเนตจะขึ้ นอยู่กับการนําไปใช้เป็นบรรจุภัณฑ์หรือ ส่วนประกอบสําหรับสินค้าประเภทอะไร และบรรจุภัณฑ์ หรือสินค้าประเภทดังกล่าวต้องการคุณสมบัติในด้าน ใดบ้าง เมื่อทราบความต้องการดังกล่าวแล้วจึงจะ สามารถเลือกประเภทของฟิล์มให้เหมาะสมและมี คุณสมบัติตรงตามความต้องการเพื่อทําการลามิเนตต่อไป
     เภทของฟิล์มและวัสดุที9นิยมนํามาผลิตฟิล์มลา มิเนตสําหรับบรรจุภัณฑ์มีดังนี

  • ฟิล์ม Polyethylene : PE  ส่วนใหญ่นิยมใช้ฟิ ล์ม LDPE และฟิล์ม LLDPE ในชั นในสุดหรือชั นที9สัมผัลกับอาหารโดยตรง โดย ฟิ ล์ม PE ให้คุณสมบัติยืดหยุ่นได้ดี ทนความร้อนได้ สามารถใช้กับกระบวนการปิ ดผนึกด้วยความร้อนได้ (Heat Sealing) และยังสามารถต้านทานต่อการกัด กร่อนจากสารเคมีและการกัดกร่อนจากกรดบาง ประเภทได้ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ ถุงเย็น ถุงซิป ฟิ ล์มยืด ฟิล์มหด ฟิล์มคลุมดิน 
  • ฟิล์ม Polypropylene: PP  ฟิล์ม PP ที่นิยมใช้ในกระบวนการลามิเนตคือ ฟิล์ม CPP (Cast Polypropylene Film) และ ฟิล์ม BOPP (Biaxially Oriented Polypropylene Film) ซึ่งฟิล์มทั้ งสองชนิดมีคุณสมบัติโดดเด่นมากทั งใน ด้านความใส ผิวมันวาว เหนียว ทนต่อแรงดึง ไม่มี ไฟฟ้ าสถิตย์ กันน ้ำได้ดี ฟิล์ม CPP และ BOPP มักถูกใช้ควบคู่กันโดย CPP จะทําหน้าที่เป็นชั้ นเคลือบ เพื่อให้อาหารหรือสินค้าที่บรรจุปลอดภัยจาก ผลกระทบของสีที่พิมพ์ลงบน BOPP ฟิล์ม ตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ฟิล์มหุ้มซองบุหรี
  • ฟิล์ม Polyester : PET  ฟิล์ม PET ที่นํามาใช้ในการลามิเนตคือฟิล์ม BOPET (Biaxially Oriented Polyethylene Terephthalate) มีผิวที่เงางาม เรียบ มีความใส ทนทานต่อการฉีกขาดหรือการกดกระแทกรักษา รูปทรงได้ดีในอุณหภูมิระดับต่างๆ ทนความร้อนสูง สามารถใช้กับไมโครเวฟได้ ทนทานต่อความชื้ น ทนสารเคมีและตัวทําละลายได้หลากหลายประเภท สามารถป้องกันการซึมผ่านของก๊าซต่างๆ ได้ดี และ มีคุณสมบัติในการถนอมและรักษากลิ่นของอาหาร และรักษาความกรอบของขนมขบเคี ยวได้ดีกว่าฟิล์ม BOPP ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อน ฟิล์มสําหรับแผงโซลาเซลล์
  • ฟิล์ม Nylon, Polyamide : PA  ฟิล์ม PA ที่นิยมนํามาใช้ในการลามิเนตก็คือ ฟิล์ม BOPA (Biaxially Oriented Polyamide Film) มีคุณสมบัติที่ดีในการต้านทานการรั่วซึม ทนต่ออุณภูมิร้อน-เย็น มีความเหนียวเป็นพิเศษ BOPA จึง สามารถนํามาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์สูญญากาศ สําหรับบรรจุอาหารได้ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์สูญญากาศสําหรับอาหารแช่แข็ง ถุงข้าวสาร
  •  ฟิล์ม Metalized  เป็นฟิล์มพลาสติกที่ผ่านกระบวนการฉาบด้วย โลหะอลูมิเนียม (Aluminum) ทําให้ซองบรรจุภัณฑ์ มีสีสันแวววาว กันการซึมผ่านของก๊าซได้ดี ช่วยยืดอายุของสินค้าภายในได้ดีกว่าแผ่นฟิล์มชนิดธรรมดา ฉะนั้ นฟิล์ม Metalized จึงเหมาะกับการนําไปใช้งาน ในด้านบรรจุภัณฑ์เป็นอย่างมาก โดยฟิล์ม Metalized ที่นิยมใช้ในการลามิเนตได้แก่ M-BOPA (Metalized Nylon Film), M-CPP (Metalized Cast Polypropylene Film) M-PET (Metalized Polyester Film) เป็ นต้น ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ ซองขนม ซองกาแฟสําเร็จรูป 3in1
  • ฟอยล์อลูมิเนียม Aluminum Foil  ฟอยล์อลูมิเนียมมีคุณสมบัติสําหรับการผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ดีที่สุดถ้าเทียบกับฟิล์มพลาสติก ชนิดอื่นๆ ตามที่กล่าวมาข้างต้น แต่ก็มีราคาแพง ที่สุดเช่นกัน โดยฟอยล์อลูมิเนียมมีคุณสมบัติในการ ป้องกันได้ทั้งก๊าซต่างๆ กันการซึมผ่านของก๊าซนํากลิ่น น้ำมัน และแสง ได้อย่างดีเยี่ยม ทําให้สามารถปกป้องและถนอมผลิตภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ภายในได้ ยาวนานกว่า ฟิล์มชนิดอื่นๆ อลูมิเนียมฟอยล์ใช้ได้ กับบรรจุภัณฑ์อาหาร ยา ฯลฯ ทั งที่เป็นของแข็งและ ของเหลว ถ้าหากผลิตภัณฑ์กัดกร่อนได้ก็ยังสามารถ เคลือบฟอยล์อลูมิเนียมด้วยสารอื่นๆที่ทนต่อการกัด กร่อน ได้และผิวของฟอยล์อลูมิเนียมก็มีความมัน วาวสวยงามเช่นเดียวกับฟิล์ม Metalized อีกด้วย
ขอขอบคุณที่มา : http://goo.gl/dw29uC

วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558

มหกรรม OTOP และท่องเที่ยว กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2

ภาพจาก : www.futurepark.co.th

สินค้าต่างๆภายในงาน
ภาพจาก : www.futurepark.co.th

ตัวผมหน้าร้านโรลออนสารส้มจากจังหวัดลพบุรี

วันที่ 26 ตุลาคม ผมได้เข้าไปชมงาน "มหกรรม OTOP และท่องเที่ยว กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2" ที่Alive Park Hall หน้าศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ครังสิต ภายในงานสามารถชม ช้อป ชิม สินค้าโอทอป นิทรรศการท่องเที่ยว ของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน ได้แก่จังหวัดลพบุรี ชัยนาท อ่างทอง และสิงห์บุรี

บรรกาศหน้างาน
ภาพโดย : สุริยนต์   อรรถาเวช:2558

บรรกาศหน้างาน
ภาพโดย : สุริยนต์   อรรถาเวช:2558

ทางเข้างาน
ภาพโดย : สุริยนต์   อรรถาเวช:2558

บรรกาศภายในงาน
ภาพโดย : สุริยนต์   อรรถาเวช:2558

สินค้าโรลออนสารส้ม จาก จังหวัดลพบุรี
ภาพโดย : สุริยนต์   อรรถาเวช:2558

สินค้าโรลออนสารส้ม จาก จังหวัดลพบุรี
ภาพโดย : สุริยนต์   อรรถาเวช:2558

วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บรรจุภัณฑ์มีทั้งหมด กี่ประเภท ?

ประเภทของบรรจุภัณฑ์สามารถแบ่งได้หลายวิธีตามหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ดังนี้
1. แบ่งตามวิธีการบรรจุและวิธีการขนถ่าย
2. แบ่งตามวัตถุประสงค์ของการใช้
3. แบ่งตามความคงรูป
4. แบ่งตามวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ 
1. แบ่งตามวิธีการบรรจุและวิธีการขนถ่าย
     1.1 บรรจุภัณฑ์เฉพาะหน่วย (Individual Package)
 คือ บรรจุภัณฑ์ที่สัมผัสอยู่กับผลิตภัณฑ์ชั้นแรก เป็นสิ่งที่บรรจุผลิตภัณฑ์เอาไว้เฉพาะหน่วยโดยมีวัตถุประสงค์ขั้นแรกคือ เพิ่มคุณค่าในเชิงพาณิชย์ (To Increase Commercial Value) เช่น การกำหนดให้ มีลักษณะพิเศษเฉพาะหรือทำให้มีรูปร่างที่เหมาะแก่การจับถือ และอำนวยความสะดวกต่อการใช้ผลิตภัณฑ์ภายใน พร้อมทั้งทำหน้าที่ให้ความปกป้องแก่ผลิตภัณฑ์โดยตรงอีกด้วย

  1.2. บรรจุภัณฑ์ชั้นใน (Inner Package) คือ บรรจุภัณฑ์ที่อยู่ถัดออกมา
เป็นชั้นที่สอง มีหน้าที่รวบรวมบรรจุภัณฑ์ขั้นแรกเข้าไว้ด้วยกันเป็นชุด ในการจำหน่ายรวมตั้งแต่ 2 – 24 ชิ้นขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์ขั้นแรก คือ การป้องกันรักษาผลิตภัณฑ์จากน้ำความชื้น ความร้อน แสง แรงกระทบกระเทือน และอกนวยความสะดวกแก่การขายปลีกย่อยเป็นต้น ตัวอย่างของบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้ ได้แก่ กล่องกระดาษแข็งที่บรรจุเครื่องดื่มจำนวน 1 โหล , สบู่ 1 โหล เป็นต้น

 1.3. บรรจุภัณฑ์ชั้นนอกสุด (Out Package) คือ
บรรจุภัณฑ์ที่เป็นหน่วยรวมขนาดใหญ่ที่ใช้ในการขนส่ง โดยปกติแล้วผู้ซื้อจะไม่ได้เห็นบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้มากนัก เนื่องจากทำหน้าที่ป้องกันผลิตภัณฑ์ในระหว่างการขนส่งเท่านั้นลักษณะของบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้ ได้แก่ หีบ ไม้ ลัง กล่องกระดาษขนาดใหญ่ที่บรรจุสินค้าไว้ภายใน ภายนอกจะบอกเพียงข้อมูลที่จำเป็นต่อการขนส่งเท่านั้น เช่น รหัสสินค้า (Code)เลขที่ (Number) ตราสินค้า สถานที่ส่ง เป็นต้น

  2. แบ่งตามวัตถุประสงค์ของการใช้
บรรจุภัณฑ์เพื่อการขายปลีก (Consumer Package) เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ผู้บริโภคซื้อไปใช้ไป อาจมีชั้นเดียวหรือหลายชั้นก็ได้ ซึ่งอาจเป็น Primary Package หรือSecondary Package ก็ได้   บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง (Shopping หรือ Transportation Package)เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้รองรับหรือห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ขั้นทุติยภูมิ ทำหน้าที่รวบรวมเอาบรรจุภัณฑ์ขายปลีกเข้าด้วยกัน ให้เป็นหน่วยใหญ่ เพื่อความปลอดภัยและความสะดวกในการเก็บรักษา และการขนส่ง เช่น กล่องกระดาษลูกฟูกที่ใช้บรรจุยาสีฟัน กล่องละ 3 โหล
3. แบ่งตามความคงรูป

3.1. บรรจุภัณฑ์ประเภทรูปทรงแข็งตัว (Rigid Forms)
ได้แก่ เครื่องแก้ว (Glass Ware) เซรามิคส์ (Ceramic) พลาสติกจำพวก Thermosetting ขวดพลาสติก ส่วนมากเป็นพลาสติกฉีด เครื่องปั้นดินเผา ไม้และโลหะ มีคุณสมบัติแข็งแกร่งทนทานเอื้ออำนวยต่อการใช้งาน และป้องกันผลิตภัณฑ์จากสภาพแวดล้อมภายนอกได้ดี

 3.2. บรรจุภัณฑ์ประเภทรูปทรงกึ่งแข็งตัว (Semirigid Forms)
ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกอ่อน กระดาษแข็งและอลูมิเนียมบาง คุณสมบัติทั้งด้านราคา น้ำหนักและการป้องกันผลิตภัณฑ์จะอยู่ในระดับปานกลาง
3.3. บรรจุภัณฑ์ประเภทรูปทรงยืดหยุ่น (Flexible Forms)
ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุอ่อนตัว มีลักษณะเป็นแผ่นบาง ได้รับความนิยมสูงมากเนื่องจากมีราคาถูก ( หากใช้ในปริมาณมากและระยะเวลานาน ) น้ำหนักน้อย มีรูปแบบและโครงสร้างมากมาย

4. แบ่งตามวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ 
การจัดแบ่งและเรียกชื่อบรรจุภัณฑ์ในทรรศนะของผู้ออกแบบ ผู้ผลิต หรือนักการตลาดจะแตกต่างกันออกไป บรรจุภัณฑ์แต่ละประเภทก็ตั้งอยู่ภายใต้วัตถุประสงค์หลักใหญ่(Objective Of Package) ที่คล้ายกันคือ เพื่อป้องกันผลิตภัณฑ์ (To Protect Products)เพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ (To Distribute Products) เพื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์(To Promote Products)

ที่มา : https://goo.gl/BsBGug

วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2558

ระบบการพิมพ์

ระบบการพิมพ์
1. ระบบออฟเซ็ต ระบบออฟเซ็ต เป็นระบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด สมุดหนังสือ  ใบปลิว โปสเตอร์ ใบเสร็จ ล้วนแต่พิมพ์ด้วยระบบนี้ทั้งนั้น  เพราะพิมพ์ได้สวยงาม พิมพ์ภาพได้ดี พิมพ์สี่สีก็สวย  เหมาะสำหรับงานที่ยอดพิมพ์สูงๆ ควรจะหลายพันหรือเป็น หมื่นขึ้นไปจึงจะคุ้ม เพราะแม่พิมพ์มีราคาแพง พิมพ์สิบใบก็ได้  แต่ราคาต่อใบจะสูงมาก 
2. ระบบซิลค์สกรีน การพิมพ์ซิลค์สกรีนพิมพ์ภาพได้ไม้ค่อนดี เหมาะกับงานลายเส้น  งานที่มียอดพิมพ์น้อย งานพิมพ์บนวัสดุที่พิมพ์ยาก เช่น สติกเกอร์  ไม้ แก้ว หนัง ผ้าและแผ่นซีดี นิยมใช้พิมพ์นามบัตรด้วย เพราะนามบัตรยอดพิมพ์น้อย 
3. การพิมพ์ดิจิตอล เป็นเครื่องพิมพ์ที่ได้พัฒนาให้มีความคมชัดและให้มีความ แพร่หลายไม่ว่าจะเป็นเครื่องปริ้นท์เตอร์ใช้ทั่วๆ ไป หรือเป็นเครื่องดิจิตอลขนาดใหญ่ แต่ต้นทุนต่อแผ่น จะสูง แต่เหมาะกับงานพิมพ์ไม่กี่ใบ และสามารถสั่ง พิมพ์ได้ง่าย อนาคตมีแนวโน้มในการพัฒนาเทคโนโลยี ให้สูงขึ้นและราคาถูกลง


การนับสี
     การนับสี มีหลักการอยู่ว่า 1เพลท คือ 1สี อย่าเพิ่งตกใจครับ เพราะภาพหรืองานต่างๆ ที่เห็นจะใช้แค่ 4 เพลท  หรือที่เขาเรียกกันว่างาน 4 สี นั้นเอง เคยเล่นผสมสีตอนเด็กใช่ไหมครับใช่เลย หลักการเดียวกัน แม่สี 3 สี และ สีดำอีกหนึ่งเป็น 4 ผสมกันวาดเป็นภาพเหมือนจริงได้คล้ายกันครับ แต่งานพิมพ์ก็จะมีสีพิเศษเพิ่มเข้ามา ตามความต้องการใช้งานครับ เช่นสีทองสีเงิน ซึ่งเป็นสีพิเศษ ต้องเพิ่มเพลท นับเพิ่มให้เป็น 1 สี เรามาทำความเข้าใจ กับการนับสีครับ  
     พิมพ์ 1 สี การพิมพ์สีเดียวเป็นงานพิมพ์ที่เราเห็นกันทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นงานขาวดำเช่นหนังสือ เล่มทั้งหลาย ตำราเรียน พ็อคเก็ตบุ๊คส์ แต่เป็นหน้าใน ไม่ใช่ปก แต่จริงแล้วงานสีเดียว จะพิมพ์สีอะไรก็ได้ เช่น แดง เหลือง หรือนํ้าเงิน และในสีที่พิมพ์นั้นก็เลือกความเข้มได้หลายระดับ ทำให้ดูเหมือนว่าพิมพ์หลายสีได้ เช่น พิมพ์สีแดงบนกระดาษขาว ถ้าพิมพ์ จางๆก็จะได้สีชมพูเป็นต้น การพิมพ์ 1 สี มีต้นทุนตํ่าที่สุด ถ้ามีงบจำกัดก็เลือกพิมพ์สีเดียว  พิมพ์สีนํ้าตาลสีเดียว พิมพ์สีนํ้าเงินสีเดียว พิมพ์สีเขียวสีเดียว  สีขาวเป็นสีของกระดาษ พิมพ์นํ้าตาลสีเดียว  สีขาวเป็นสีของกระดาษ
     พิมพ์หลายสี การพิมพ์สีเดียวอาจจะดูไม่น่าสนใจนัก ถ้าต้องการความสวยงามก็อาจจะต้องพิมพ์ หลายสี เช่น พิมพ์ 2 สี หรือ 3 สี เป็นต้น ส่วนใหญ่จะนิยมพิมพ์ 2 สีค่ะ เช่น ดำกับแดง  หรือดำกับนํ้าเงิน หรือคู่สีอะไรก็ได้ ค่าใช้จ่ายก็เพิ่มจากพิมพ์สีเดียวขึ้นมาอีกบางส่วน เพราะโรงพิมพ์จะต้องเพิ่มแม่พิมพ์ตามจะนวนสี และต้องเพิ่มเที่ยวพิมพ์ตามไปด้วย  พิมพ์ 2 สี นํ้าตาลกับสีเขียว พิมพ์ 2 สีฟ้ากับสีดำ สีขาวเป็นสีของกระดาษ พิมพ์ 3สี ฟ้าดำและส้ม พิมพ์ 4 สี ฟ้า ดำ ส้มและแดง
     พิมพ์สี่สี (แบบสอดสี) ถ้าต้องการพิมพ์ภาพที่มีสีสันสวยงาม เหมือนกับที่ตาเราเห็นก็ต้องพิมพ์สี่สีแบบสอดสี เรานิยมเรียกกันสั้นๆว่าพิมพ์ 4 สี การพิมพ์แบบนี้ไม่ว่าสิ่งที่เราต้องการพิมพ์ มีกี่ร้อย กี่พันสี โรงพิมพ์ก็จะใช้วิธีพิมพ์สีหลักสี่สี แล้วมันจะผสมกันออกมาได้สารพัดสีตาม ที่ต้องการ ซึ่งแน่นอนว่าขั้นตอนยากกว่าสองแบบแรก ค่าใช้จ่ายก็สูงกว่าเพราะต้อง ใช้แม่พิมพ์ถึง 4 ตัว แล้วก็ต้องพิมพ์สี่รอบ สีที่ใช้พิมพ์เขาก็มีชื่อเรียกกัน สี่สีที่ว่าก็คือ ชมพูเหลือง ฟ้าและดำ ไม่น่าเชื่อว่า สี่สีนี้ผสมกันออกมา จะให้เป็นสีอะไรก็ได้ เป็นล้าน สี พวกปกหนังสือ โปสเตอร์สวย หน้าแฟชั่นในนิตยสารก็ล้วนแต่พิมพ์สี่สีเป็นส่วนใหญ่ 
     พิมพ์สีพิเศษ เช่น สีทอง ซึ่งมีหลายทอง แต่ละทองจะให้ความเงาและด้านต่างกัน สีเงิน มีเงินมันวาว เงินด้าน และสีพิมพ์พิเศษอื่นๆ อีกเช่นสีสะท้อนแสง ครับ ถ้าอยากได้งานดี งานสวย ใช้สีพิเศษแล้วต้องยอมจ่ายเพิ่มอีกหน่อยนะครับ

ขั้นตอนก่อนการพิมพ์ (Prepress)
     ขั้นตอนนี้จะเป็นการเรียมตัวทุกอย่างตั้งแต่ ในส่วนของ ไฟล์งาน ออกแบบ ที่เรียบร้อยพร้อมจะส่งโรงพิมพ์ การเตรียมเพลต สำหรับใช้เป็นแม่แบบ สำหรับเครื่องพิมพ์ รวมทั้งขั้นตอนการตรวจสอบ หรือที่เรียกกันว่าการ Proof งานแบบต่างๆ
ขั้นตอนการทำงานของกระบวนการพิมพ์สามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้
-เตรียมไฟล์สำหรับส่งพิมพ์ เป็นขั้นตอนที่นักออกแบบจะต้องจัดการไฟล์ต่างๆ ที่ทำไว้ในเครื่องของตนเองให้มีข้อมูลพร้อมสำหรับการพิมพ์ อาจจะดูเหมือนการบันทึกไฟล์ปกติ แต่จะแตกต่างกันตรงที่นักออกแบบจะต้องแนบข้อมูลที่ใช้งานนั้นติดไปกับไฟล์ด้วยทั้งหมด-Preflight เป็นการตรวจสอบความเรียบร้อยของไฟล์ เช่น ภาพครบหรือไม่ ตัวอักษรถูกต้องหรือไม่ ขนาดถูกต้องหรือไม่ ด้วยโปรแกรมตรวจสอบต่างๆ ส่วนใหญ่โปรแกรมตรวจสอบพวกนี้ โรงพิมพ์จะมีให้อยู่แล้ว และเมื่อขาดข้อมูลส่วนใดไปโรงพิมพ์ก็จะแจ้งมาให้นักออกแบบทราบ-Imposition เป็นการนำหน้าผลงานที่จะพิมพ์ มาจัดวางให้พอดีกับขนาดของกระดาษ ที่โดยทั่วไปจะมีขนาดใหญ่กว่าหน้าผลงานที่จะพิมพ์อยู่แล้ว นอกจากการจัดหน้ากระดาษ จะทำให้ในกระดาษแผ่นหนึ่งสามารถพิมพ์ผลงานได้หลายชิ้นแล้ว การจัดหน้ากระดาษยังรวมไปถึง การวางตำแหน่งหน้าที่ถูกต้อง เมื่อนำไปพับแล้วหน้าที่ต้องการจะเรียงต่อกันพอดี การจัดหน้ากระดาษเหล่านี้ส่วนใหญ่นักออกแบบจะไม่ต้องทำ แต่จะเป็นหน้าที่ของโรงพิมพ์เป็นหลัก-Digital Proof เป็นการตรวจสอบความเรียบร้อยของไฟล์ เช่น ภาพครบหรือไม่ ตัวอักษรถูกต้องหรือไม่ ขนาดถูกต้องหรือไม่ ด้วยโปรแกรมตรวจสอบต่างๆส่วนใหญ่โปรแกรม ตรวจสอบพวกนี้โรงพิมพ์จะมีให้อยู่แล้ว และเมื่อขาดข้อมูลส่วนใดไปโรงพิมพ์ก็จะแจ้งมาให้ นักออกแบบทราบ-Plate Proof เป็นการพิมพ์ตัวอย่างสำหรับตรวจสอบรายละเอียดจากดครื่องพิมพ์จริงๆ ที่ใช้ในการพิมพ์งานจะได้รายละเอียดตรงกับงานจริงมากที่สุด แต่ก็ต้องแลกมาด้วยค่าใช้จ่าย และเวลาที่เพิ่มมากขึ้นด้วยงานที่มักจะใช้การ Proof แท่นมักจะเป็นงานที่ต้องการรายละเอียด ที่ถูกต้องมากที่สุดแบบผิดเพี้ยนไม่ได้เลยเช่น งานนิตยสาร-ทำเพลต เป็นขั้นตอนการนำไฟล์ที่จะส่งพิมพ์ไปทำเพลตสำหรับทำแม่พิมพ์ ไฟล์จะถูกนำไปทาบกับแม่พิมพ์ที่มีสารไวแสง เคลือบอยู่ และเมื่อนำไปจัดการด้วยกระบวนการ ทางเทคนิคอีกเล็กน้อย ก็จะได้เพลตหรือบล็อกต้นแบบ สำหรับนำไปใช้กับเครื่องพิมพ์ขั้นตอนการพิมพ์ (Press)หลังจากได้เพลตสีต่างๆ มาแล้ว โรงพิมพ์ก็จะนำเพลต เหล่านี้ไปเข้าเครื่องพิมพ์เพื่อพิมพ์ผลงานออกมา ในขั้นตอนนี้จะมีเรื่องที่ต้องคำนึงถึงอยู่เพียงเรื่องเดียว คือ การควบคุมคุณภาพผลงานให้ออกมาตรงกับ เพลตมากที่สุด โดยจะแบ่งออกมาเป็น 2 ขั้นตอน คือ-การเตรียมพิมพ์ เป็นขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบสำหรับพิมพ์ เช่น กระดาษตามที่นักออกแบบกำหนดมา และหมึกที่จะใช้พิมพ์ รวมทั้งการกำหนดค่าต่างๆสำหรับเครื่องพิมพ์-การพิมพ์ เป็นขั้นตอนการพิมพ์โดยในขั้นตอนนี้จะเป็นการพิมพ์ ด้วยขั้นตอนการยิงสีลงไปบนกระดาษทีละสีตามเพลตที่เตรียมไว้ โดยพิมพ์ทับกันไปทีละสีจนได้ผลลัพธ์ตามที่กำหนดไว้ในตอนต้นขั้นตอนหลังการพิมพ์ (POst press)ขั้นตอนหลังจากพิมพ์เรียบร้อยแล้วเป็นการเก็บ รายละเอียดเช่น ขั้นตอนการเข้าร7ูปเล่ม และขั้นตอนการเคลือบปก ขั้นตอน หลังการพิมพ์ พอจะแยกออกเป็นส่วนต่างๆ ได้ ดังนี้-การเคลือบและตกแต่งผิว หลังจากที่ได้งานพิมพ์ซึ่งเป็นงานอยู่บนกระดาษแผ่นใหญ่ๆ มาแล้วขั้นตอนต่อไปโรงพิมพ์ก็จะเคลือบผิว หรือตกแต่งผิวด้วยเทคนิคพิเศษต่างๆ การเคลือบผิวหรือตกแต่งผิวด้วยทคนิคพิเศษ ต่างๆจะขึ้นอยู่กับโรงพิมพ์ ว่าสามารถทำได้ หรือไม่แต่โดยทั่วไปแล้วโรงพิมพ์จะเคลือบ และตกแต่งผิวด้วยเทคนิค ที่เป็นมาตรฐานเหล่านี้ได้ เช่น ปั๊มแผ่นฟอยล์มปั๊มนูนมเคลือบ UV ทำ SPOT UV เป็นต้น-การไดคัต เป็นขั้นตอนนำงานพิมพ์ที่ได้มาตัดขอบส่วนเกินทิ้ง ดพื่อเตรียมสำหรับนำไปเข้ารูปเล่ม สำหรับงานบางประเภท เช่น งานทำฉลากสินค้าที่ไม่ได้รูปทรงเป็นสี่เหลี่ยม ต้องการให้โรงพิมพ์ไดคัตออกมาเป็นรูปทรงตามที่กำหนดไว้ ก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับขั้นตอนการไดคัตนี้เพิ่มไปต่างหาก-การเข้ารูปเล่ม เป็นขั้นตอนการนำผลลัพธ์ที่ได้มาพับและตัดออกให้เรียงเป็นจำนวนหน้าที่ต้องการ หลังจากนั้นจึงนำไปเย็บรวมกันด้วยวิธีเข้ารูปเล่มที่นักออกแบบกำหนด เช่น การเย็บกี่ หรือการไสกาวหลังจากขั้นตอนนี้เราก็จะได้งานพิมพ์ที่สมบูรณ์

เทคนิคการพิมพ์     
     ในปัจจุบันนอกจากการพิมพืตามปกติแล้ว นักออกแบบยังสามารถ เลือกเทคนิคการพิมพ์แบบพิศษ เข้ามาใช้เพื่อเพิ่มความน่าสนใจ ให้กับผลงานที่ทำได้อีกด้วย
ตัวอย่างการพิมพ์เทคนิคแบบพิเศษที่โรงพิมพ์มาตรฐานสามารถทำได้ เช่น

-เคลือบ UV เป็นการเคลือบผิวกระดาษด้วยน้ำยาเงาและทำให้แห้งด้วยแสงยูวี ให้ความเงาสูงกว่าแบบวานิช
-เคลือบ PVC เงา เป็นการเคลือบผิวกระดาษด้วยฟิมล์พีวีซีที่มีผิวมันวาวให้ความเรียบและเงาสูง และเงากว่าการเคลือบ UV แต่ก็มีต้นทุนสูงกว่า
-เคลือบวานิชเคลือบผิวกระดาษให้เงาด้วยวานิช ให้ความเงาไม่สูงมากนัก ใช้เพื่อป้องกันหมึกพิมพ์และผิวกระดาษจากการเสียดสีและให้ความเงางาม
-เคลือบ PVC ด้าน เป็นการเคลือบผิวกระดาษด้วยฟิล์มพีวีซีที่มีผิวด้านคล้ายผิวของกระจกฝ้า-เคลือบเงาเฉพาะจุด (Spot UV) เป็นการเคลือบเงาเฉพาะบางบริเวณ เช่นตัวอักษรสำคัญ หรือภาพที่ต้องการเน้น โดยมีการเคลือบส่วนอื่นๆเป็น PVC ด้าน-ปั๊มไดคัต (Die cutting) เป็นการตัดกระดาษให้ขาดตามรูปทรงที่นักออกแบบกำหนดมา-ปั๊มนูน (Embossing) เป็นการกดกระดาษให้นูนขึ้นตามรูปทรงที่นักออกแบบกำหนดมา-ปั๊มลึก (Debossing) ตรงข้ามกับปั๊มนูนคือ ปั๊มให้จมลงไปมากกว่าพื้นผิวปกติ-ปั๊มฟอยเงิน/ทอง (Foil/Hot Stamping) เป็นการรีดกระดาษฟอยล์เงิน,ทองหรือลายอื่นๆ ลงบนกระดาษมักจะใช้เน้นส่วนสำคัญ เช่น กรณีที่ต้องการตัวอักษรสีทอง ต้องการขอบทองบนปกเป็นต้น
                                                                            
                                                                                             ที่มา :http://www.ksvision.co.th/kn_color.html
ที่มา : http://goo.gl/7Q3w9W

วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2558

แปลข่าวสาร"Coca Cola" campaign"2nd lives"



Coca Cola teamed up with award-winning ad agency Ogilvy & Mather China on a new “2nd Lives” campaign and created 16 red screw-on caps that transform the otherwise-useless left-over plastic bottle into something creative, fun and usable. This environmentally friendly campaign launched in Vietnam, where 40,000 free caps will be given away when purchasing the iconic soda drink.
These fun caps transform the used beverage bottles into a lamp, a paintbrush, a spray bottle, a pencil sharpener, a soap dispenser, and many other usable objects. Graham Fink, the chief creative officer of Ogilvy & Mather China, explains the idea behind the project: “We have created fun tools with Coke bottle tops, bringing small moments of happiness into people’s lives.
With the creativity of this campaign and the good cause behind it, this could easily be one of Coca Cola’s best campaigns ever. Don’t forget to check out the video to see how all the different caps are used.

การแปลข่าวสาร Fast Food Packaging

Fast Food Packaging


PROJECT BY

IAN GILLEY
Cranston, RI, USA

An attempt to reduce waste and make convenience food more convenient.
การผลิตบรรจุภัณฑ์ของอาหารสะดวกซื้อนี้ จะช่วยลดการสูญเสียและเพิ่มความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

Versatile system works on the go or at the table.
สามารถใช้งานได้หลายที่ ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะ หรือระหว่างการเดินทาง

Fabricated from biodegradable compressed paper.
ประดิษฐ์จากกระดาษอัดที่ย่อยสลายได้

วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การออกแบบบรรจุภัณฑ์ 

การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ อาจแบ่งประเภทลักษณะการออกแบบได้ 2 ประเภทคือ
•  การออกแบบลักษณะโครงสร้าง
•  การออกแบบกราฟฟิค
การออกแบบลักษณะโครงสร้าง หมายถึง การกำหนดรูปลักษณะ โครงสร้างวัสดุที่ใช้ตลอดจนกรรมวิธีการผลิต การบรรจุ ตลออดจนการขนส่งเก็บรักษาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์นับตั้งแต่จุดผลิตจนถึงมือผู้บริโภค
การออกแบบกราฟฟิค หมายถึง การสร้างสรรค์ลักษณะส่วนประกอบภายนอกของโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ให้สามารถสื่อสาร สื่อความหมาย ความเข้าใจ (To Communicate) ในอันที่จะให้ผลทางด้านจิตวิทยา (Psychological Effects) ต่อผู้บริโภค และอาศัยหลักศิลปะการจัดภาพให้เกิดความประสานกลมกลืนกันอย่างสวยงาม ตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้

1. กระบวนการออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์

ในกระบวนการออกแบบโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ ผู้วิจัยต้องอาศัยความรู้และข้อมูลจากหลายด้านการอาศัยความช่วยเหลือจากผู้ชำนาญการบรรจุ (PACKAGING SPECIALISTS) หลาย ๆ ฝ่ายมาร่วมปรึกษาและพิจารณาตัดสินใจ ซึ่งอิงทฤษฏีของ ปุ่น คงเจริญเกียรติและสมพร คงเจริญเกียรติ (2542:71-83) โดยที่ผู้วิจัยจะกระทำหน้าที่เป็นผู้สร้างภาพพจน์ (THE IMAGERY MAKER) จากข้อมูลต่าง ๆ ให้ปรากฏเป็นรูปลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์จริง ลำดับขั้นตอนของการดำเนินงาน นับตั้งแต่ตอนเริ่มต้น จนกระทั่งสิ้นสุดจนได้ผลงานออกมาดังต่อไปนี้ เช่น
1. กำหนดนโยบายหรือวางแผนยุทธศาสตร์ (POLICY PERMULATION OR ATRATEGIC PLANNING) เช่น ตั้งวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการผลิต เงินทุนงบประมาณ การจัดการ และการกำหนดสถานะ (SITUATION) ของบรรจุภัณฑ์ ในส่วนนี้ทางบริษัทแด่ชีวิตจะเป็นผู้กำหนด
2. การศึกษาและการวิจัยเบื้องต้น (PRELIMINARY RESEARCH) ได้แก่ การศึกษาข้อมูลหลักการทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และวิศวกรรมทางการผลิต ตลอดจนการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นและเกี่ยวข้องสอดคล้องกันกับการออกแบบโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์
3. การศึกษาถึงความเป็นไปได้ของบรรจุภัณฑ์ ( FEASIBILITY STUDY ) เมื่อได้ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ แล้วก็เริ่มศึกษาความเป็นไปได้ของบรรจุภัณฑ์ด้วยการสเก็ต (SKETCH DESING) ภาพ แสดงถึงรูปร่างลักษณะ และส่วนประกอบของโครงสร้าง 2-3 มิติ หรืออาจใช้วิธีการอื่น ๆ ขึ้นรูปเป็นลักษณะ 3 มิติ ก็สามารถกระทำได้ ในขั้นตอนนี้จึงเป็นการเสนอแนวความคิดสร้างสรรค์ขั้นต้นหลาย ๆ แบบ (PRELIMINARY IDFAS) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในเทคนิควิธีการบรรจุ และการคำนวณเบื้องต้น ตลอดจนเงินทุนงบประมาณดำเนินการ และเพื่อการพิจารณาคัดเลือกแบบร่างไว้เพื่อพัฒนาให้สมบูรณ์ในขั้นตอนต่อไป
4. การพัฒนาและแก้ไขแบบ ( DESIGN REFINEMENT ) ในขั้นตอนนี้ผู้ออกแบบจะต้องขยายรายละเอียดปลีกย่อยต่าง ๆ (DETAILED DESIGN ) ของแบบร่างให้ทราบอย่างละเอียดโดยเตรียมเอกสารหรือข้อมูลประกอบ มีการกำหนดเทคนิคและวิธีการผลิต การบรรจุ วัสดุ การประมาณราคา ตลอดจนการทดสอบทดลองบรรจุ เพื่อหารูปร่าง รูปทรงหรือส่วนประกอบต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการด้วยการสร้างรูปจำลองง่าย ๆ (MOCK UP) ขึ้นมา ดังนั้นผู้ออกแบบจึงต้องจัดเตรียมสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้อย่างละเอียดรอบคอบเพื่อการนำเสนอ (PRESENTATION) ต่อลูกค้าและผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องให้เกิดความเข้าใจเพื่อพิจารณาให้ความคิดเห็นสนับสนุนยอมรับหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมในรายละเอียดที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเช่น การทำแบบจำลองโครงสร้างเพื่อศึกษาถึงวิธีการบรรจุ และหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ก่อนการสร้างแบบเหมือนจริง
5. การพัฒนาต้นแบบจริง (PROTOTYPE DEVELOPMENT) เมื่อแบบโครงสร้างได้รับการแก้ไขและพัฒนา ผ่านการยอมรับแล้ว ลำดับต่อมาต้องทำหน้าที่เขียนแบบ (MECHANICAL DRAWING) เพื่อกำหนดขนาด รูปร่าง และสัดส่วนจริงด้วยการเขียนภาพประกอบแสดงรายละเอียดของรูปแบบแปลน (PLAN) รูปด้านต่าง ๆ (ELEVATIONS) ทัศนียภาพ (PERSPECTIVE) หรือภาพแสดงการประกอบ (ASSEMBLY) ของส่วนประกอบต่าง ๆมีการกำหนดมาตราส่วน (SCALE) บอกชนิดและประเภทวัสดุที่ใช้มีข้อความ คำสั่ง ที่สื่อสารความเข้าใจกันได้ในขบวนการผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ของจริง แต่การที่จะได้มาซึ่งรายละเอียดเพื่อนำไปผลิตจริงดังกล่าวนั้น ผู้ออกแบบจะต้องสร้างต้นแบบจำลองที่สมบูรณ์ (PROTOTYPE) ขึ้นมาก่อนเพื่อวิเคราะห์ (ANALYSIS) โครงสร้างและจำแนกแยกแยะส่วนประกอบต่าง ๆ ออกมาศึกษา ดังนั้น PROTOTYPE ที่จัดทำขึ้นมาในขั้นนี้จึงควรสร้างด้วยวัสดุที่สามารถให้ลักษณะ และรายละเอียดใกล้เคียงกับบรรจุภัณฑ์ของจริงให้มากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้เช่นอาจจะทำด้วยปูนพลาสเตอร์ ดินเหนียว กระดาษ ฯลฯ และในขั้นนี้ การทดลองออกแบบกราฟฟิคบนบรรจุภัณฑ์ ควรได้รับการพิจารณมร่วมกันอย่างใกล้ชิคกับลักษณะของโครงสร้างเพื่อสามารถนำผลงานในขั้นนี้มาคัดเลือกพิจารณาความมีประสิทธภาพของรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ที่สมบูรณ์
6. การผลิตจริง (production) สำหรับขั้นตอนนี้ส่วนใหญ่จะเป็นหน้าที่รับผิดชอบของฝ่ายผลิตในโรงงานที่จะต้องดำเนินการตามแบบแปลนที่นักออกแบบให้ไว้ ซึ่งทางฝ่ายผลิตจะต้องจัดเตรียมแบบแม่พิมพ์ของบรรจุภัณฑ์ให้เป็นไปตามกำหนด และจะต้องสร้างบรรจุภัณฑ์จริงออกมาจำนวนหนึ่งเพื่อเป็นตัวอย่าง (PRE- PRODUCTION PROTOTYPES) สำหรับการทดสอบทดลองและวิเคราะห์เป็นครั้งสุดท้าย หากพบว่ามีข้อบกพร่องควรรีบดำเนินการแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยแล้วจึงดำเนินการผลิตเพื่อนำไปบรรจุและจำหน่ายในลำดับต่อไป

ประโยชน์ของบรรจุภัณฑ์
1. การป้องกัน (Protection) เช่น กันน้ำ กันความชื้น กันแสง กันแก๊ส เมื่ออุณหภูมิสูงหรือต่ำ ด้านทานมิให้ผลิตภัณฑ์แปรสภาพไม่แต่ไม่ฉีกขาดง่าย ปกป้องให้สินค้าอยู่ในสภาพใหม่สดอยู่ในสภาวะแวดล้อมของตลาดได้ในวงจรยาว โดยไม่แปรสภาพขนานแท้และดั้งเดิม
2. การจัดจำหน่ายและการกระจาย (Distribution) เหมาะสมต่อพฤติกรรมการซื้อขายเอื้ออำนวยการแยกขาย ส่งต่อ การตั้งโชว์ การกระจาย การส่งเสริมจูงใจในตัว ทนต่อการขนย้าย ขนส่ง และการคลังสินค้า ด้วยต้นทุนสมเหตุสมผล ไม่เกิดรอยขูดขีด / ชำรุด ตั้งแต่จุดผลิตและบรรจุจนถึงมือผู้ซื้อ / ผู้ใช้ / ผู้บริโภค ทนทานต่อการเก็บไว้นานได้ 
3. การส่งเสริมการจำหน่าย (Promotion) เพื่อยึดพื้นที่แสดงจุดเด่น โชว์ตัวเองได้อย่างสะดุดตา สามารถระบุแจ้งเงื่อนไข แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอผลประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อจูงใจผู้บริโภค เมื่อต้องการจัดรายการเพื่อเสริมพลังการแข่งขัน ก็สามารถเปลี่ยนแปลงและจัดทำได้สะดวก ควบคุมได้และประหยัด
4. การบรรจุภัณฑ์กลมกลืนกับสินค้า และกรรมวิธีการบรรจุ (Packaging) เหมาะสมทั้งในแง่การออกแบบ และเพื่อให้มีโครงสร้างเข้ากับขบวนการบรรจุ และเอื้ออำนวยความสะดวกในการหิ้ว – ถือกลับบ้าน ตลอดจนการใช้ได้กับเครื่องมือการบรรจุที่มีอยู่แล้ว หรือจัดหามาได้ ด้วยอัตราความเร็วในการผลิตที่ต้องการ ต้นทุนการบรรจุภัณฑ์ต่ำหรือสมเหตุสมผล ส่งเสริมจรรยาบรรณและรับผิดชอบต่อสังคม ไม่ก่อให้เกิดมลพิษและอยู่ในทำนองคลองธรรมถูกต้องตามกฎหมายและพระราชบัญญัติต่าง ๆ
5. เพิ่มยอดขาย เนื่องจากในตลาดมีสินค้าและคู่แข่งเพิ่มขึ้นตลอดเวลา หากบรรจุภัณฑ์ของสินค้าใดได้รับการออกแบบเป็นอย่างดี จะสามารถดึงดูดตา ดึงดูดใจผู้บริโภคและก่อให้เกิดการซื้อในที่สุด รวมทั้งการลดต้นทุนการผลิต