1. ระบบออฟเซ็ต ระบบออฟเซ็ต เป็นระบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด สมุดหนังสือ ใบปลิว โปสเตอร์ ใบเสร็จ ล้วนแต่พิมพ์ด้วยระบบนี้ทั้งนั้น เพราะพิมพ์ได้สวยงาม พิมพ์ภาพได้ดี พิมพ์สี่สีก็สวย เหมาะสำหรับงานที่ยอดพิมพ์สูงๆ ควรจะหลายพันหรือเป็น หมื่นขึ้นไปจึงจะคุ้ม เพราะแม่พิมพ์มีราคาแพง พิมพ์สิบใบก็ได้ แต่ราคาต่อใบจะสูงมาก
2. ระบบซิลค์สกรีน การพิมพ์ซิลค์สกรีนพิมพ์ภาพได้ไม้ค่อนดี เหมาะกับงานลายเส้น งานที่มียอดพิมพ์น้อย งานพิมพ์บนวัสดุที่พิมพ์ยาก เช่น สติกเกอร์ ไม้ แก้ว หนัง ผ้าและแผ่นซีดี นิยมใช้พิมพ์นามบัตรด้วย เพราะนามบัตรยอดพิมพ์น้อย
3. การพิมพ์ดิจิตอล เป็นเครื่องพิมพ์ที่ได้พัฒนาให้มีความคมชัดและให้มีความ แพร่หลายไม่ว่าจะเป็นเครื่องปริ้นท์เตอร์ใช้ทั่วๆ ไป หรือเป็นเครื่องดิจิตอลขนาดใหญ่ แต่ต้นทุนต่อแผ่น จะสูง แต่เหมาะกับงานพิมพ์ไม่กี่ใบ และสามารถสั่ง พิมพ์ได้ง่าย อนาคตมีแนวโน้มในการพัฒนาเทคโนโลยี ให้สูงขึ้นและราคาถูกลง
การนับสี
การนับสี มีหลักการอยู่ว่า 1เพลท คือ 1สี อย่าเพิ่งตกใจครับ เพราะภาพหรืองานต่างๆ ที่เห็นจะใช้แค่ 4 เพลท หรือที่เขาเรียกกันว่างาน 4 สี นั้นเอง เคยเล่นผสมสีตอนเด็กใช่ไหมครับใช่เลย หลักการเดียวกัน แม่สี 3 สี และ สีดำอีกหนึ่งเป็น 4 ผสมกันวาดเป็นภาพเหมือนจริงได้คล้ายกันครับ แต่งานพิมพ์ก็จะมีสีพิเศษเพิ่มเข้ามา ตามความต้องการใช้งานครับ เช่นสีทองสีเงิน ซึ่งเป็นสีพิเศษ ต้องเพิ่มเพลท นับเพิ่มให้เป็น 1 สี เรามาทำความเข้าใจ กับการนับสีครับ
พิมพ์ 1 สี การพิมพ์สีเดียวเป็นงานพิมพ์ที่เราเห็นกันทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นงานขาวดำเช่นหนังสือ เล่มทั้งหลาย ตำราเรียน พ็อคเก็ตบุ๊คส์ แต่เป็นหน้าใน ไม่ใช่ปก แต่จริงแล้วงานสีเดียว จะพิมพ์สีอะไรก็ได้ เช่น แดง เหลือง หรือนํ้าเงิน และในสีที่พิมพ์นั้นก็เลือกความเข้มได้หลายระดับ ทำให้ดูเหมือนว่าพิมพ์หลายสีได้ เช่น พิมพ์สีแดงบนกระดาษขาว ถ้าพิมพ์ จางๆก็จะได้สีชมพูเป็นต้น การพิมพ์ 1 สี มีต้นทุนตํ่าที่สุด ถ้ามีงบจำกัดก็เลือกพิมพ์สีเดียว พิมพ์สีนํ้าตาลสีเดียว พิมพ์สีนํ้าเงินสีเดียว พิมพ์สีเขียวสีเดียว สีขาวเป็นสีของกระดาษ พิมพ์นํ้าตาลสีเดียว สีขาวเป็นสีของกระดาษ
พิมพ์หลายสี การพิมพ์สีเดียวอาจจะดูไม่น่าสนใจนัก ถ้าต้องการความสวยงามก็อาจจะต้องพิมพ์ หลายสี เช่น พิมพ์ 2 สี หรือ 3 สี เป็นต้น ส่วนใหญ่จะนิยมพิมพ์ 2 สีค่ะ เช่น ดำกับแดง หรือดำกับนํ้าเงิน หรือคู่สีอะไรก็ได้ ค่าใช้จ่ายก็เพิ่มจากพิมพ์สีเดียวขึ้นมาอีกบางส่วน เพราะโรงพิมพ์จะต้องเพิ่มแม่พิมพ์ตามจะนวนสี และต้องเพิ่มเที่ยวพิมพ์ตามไปด้วย พิมพ์ 2 สี นํ้าตาลกับสีเขียว พิมพ์ 2 สีฟ้ากับสีดำ สีขาวเป็นสีของกระดาษ พิมพ์ 3สี ฟ้าดำและส้ม พิมพ์ 4 สี ฟ้า ดำ ส้มและแดงพิมพ์สี่สี (แบบสอดสี) ถ้าต้องการพิมพ์ภาพที่มีสีสันสวยงาม เหมือนกับที่ตาเราเห็นก็ต้องพิมพ์สี่สีแบบสอดสี เรานิยมเรียกกันสั้นๆว่าพิมพ์ 4 สี การพิมพ์แบบนี้ไม่ว่าสิ่งที่เราต้องการพิมพ์ มีกี่ร้อย กี่พันสี โรงพิมพ์ก็จะใช้วิธีพิมพ์สีหลักสี่สี แล้วมันจะผสมกันออกมาได้สารพัดสีตาม ที่ต้องการ ซึ่งแน่นอนว่าขั้นตอนยากกว่าสองแบบแรก ค่าใช้จ่ายก็สูงกว่าเพราะต้อง ใช้แม่พิมพ์ถึง 4 ตัว แล้วก็ต้องพิมพ์สี่รอบ สีที่ใช้พิมพ์เขาก็มีชื่อเรียกกัน สี่สีที่ว่าก็คือ ชมพูเหลือง ฟ้าและดำ ไม่น่าเชื่อว่า สี่สีนี้ผสมกันออกมา จะให้เป็นสีอะไรก็ได้ เป็นล้าน สี พวกปกหนังสือ โปสเตอร์สวย หน้าแฟชั่นในนิตยสารก็ล้วนแต่พิมพ์สี่สีเป็นส่วนใหญ่
พิมพ์สีพิเศษ เช่น สีทอง ซึ่งมีหลายทอง แต่ละทองจะให้ความเงาและด้านต่างกัน สีเงิน มีเงินมันวาว เงินด้าน และสีพิมพ์พิเศษอื่นๆ อีกเช่นสีสะท้อนแสง ครับ ถ้าอยากได้งานดี งานสวย ใช้สีพิเศษแล้วต้องยอมจ่ายเพิ่มอีกหน่อยนะครับ
ขั้นตอนก่อนการพิมพ์ (Prepress)
ขั้นตอนนี้จะเป็นการเรียมตัวทุกอย่างตั้งแต่ ในส่วนของ ไฟล์งาน ออกแบบ ที่เรียบร้อยพร้อมจะส่งโรงพิมพ์ การเตรียมเพลต สำหรับใช้เป็นแม่แบบ สำหรับเครื่องพิมพ์ รวมทั้งขั้นตอนการตรวจสอบ หรือที่เรียกกันว่าการ Proof งานแบบต่างๆ
ขั้นตอนการทำงานของกระบวนการพิมพ์สามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้
-เตรียมไฟล์สำหรับส่งพิมพ์ เป็นขั้นตอนที่นักออกแบบจะต้องจัดการไฟล์ต่างๆ ที่ทำไว้ในเครื่องของตนเองให้มีข้อมูลพร้อมสำหรับการพิมพ์ อาจจะดูเหมือนการบันทึกไฟล์ปกติ แต่จะแตกต่างกันตรงที่นักออกแบบจะต้องแนบข้อมูลที่ใช้งานนั้นติดไปกับไฟล์ด้วยทั้งหมด-Preflight เป็นการตรวจสอบความเรียบร้อยของไฟล์ เช่น ภาพครบหรือไม่ ตัวอักษรถูกต้องหรือไม่ ขนาดถูกต้องหรือไม่ ด้วยโปรแกรมตรวจสอบต่างๆ ส่วนใหญ่โปรแกรมตรวจสอบพวกนี้ โรงพิมพ์จะมีให้อยู่แล้ว และเมื่อขาดข้อมูลส่วนใดไปโรงพิมพ์ก็จะแจ้งมาให้นักออกแบบทราบ-Imposition เป็นการนำหน้าผลงานที่จะพิมพ์ มาจัดวางให้พอดีกับขนาดของกระดาษ ที่โดยทั่วไปจะมีขนาดใหญ่กว่าหน้าผลงานที่จะพิมพ์อยู่แล้ว นอกจากการจัดหน้ากระดาษ จะทำให้ในกระดาษแผ่นหนึ่งสามารถพิมพ์ผลงานได้หลายชิ้นแล้ว การจัดหน้ากระดาษยังรวมไปถึง การวางตำแหน่งหน้าที่ถูกต้อง เมื่อนำไปพับแล้วหน้าที่ต้องการจะเรียงต่อกันพอดี การจัดหน้ากระดาษเหล่านี้ส่วนใหญ่นักออกแบบจะไม่ต้องทำ แต่จะเป็นหน้าที่ของโรงพิมพ์เป็นหลัก-Digital Proof เป็นการตรวจสอบความเรียบร้อยของไฟล์ เช่น ภาพครบหรือไม่ ตัวอักษรถูกต้องหรือไม่ ขนาดถูกต้องหรือไม่ ด้วยโปรแกรมตรวจสอบต่างๆส่วนใหญ่โปรแกรม ตรวจสอบพวกนี้โรงพิมพ์จะมีให้อยู่แล้ว และเมื่อขาดข้อมูลส่วนใดไปโรงพิมพ์ก็จะแจ้งมาให้ นักออกแบบทราบ-Plate Proof เป็นการพิมพ์ตัวอย่างสำหรับตรวจสอบรายละเอียดจากดครื่องพิมพ์จริงๆ ที่ใช้ในการพิมพ์งานจะได้รายละเอียดตรงกับงานจริงมากที่สุด แต่ก็ต้องแลกมาด้วยค่าใช้จ่าย และเวลาที่เพิ่มมากขึ้นด้วยงานที่มักจะใช้การ Proof แท่นมักจะเป็นงานที่ต้องการรายละเอียด ที่ถูกต้องมากที่สุดแบบผิดเพี้ยนไม่ได้เลยเช่น งานนิตยสาร-ทำเพลต เป็นขั้นตอนการนำไฟล์ที่จะส่งพิมพ์ไปทำเพลตสำหรับทำแม่พิมพ์ ไฟล์จะถูกนำไปทาบกับแม่พิมพ์ที่มีสารไวแสง เคลือบอยู่ และเมื่อนำไปจัดการด้วยกระบวนการ ทางเทคนิคอีกเล็กน้อย ก็จะได้เพลตหรือบล็อกต้นแบบ สำหรับนำไปใช้กับเครื่องพิมพ์ขั้นตอนการพิมพ์ (Press)หลังจากได้เพลตสีต่างๆ มาแล้ว โรงพิมพ์ก็จะนำเพลต เหล่านี้ไปเข้าเครื่องพิมพ์เพื่อพิมพ์ผลงานออกมา ในขั้นตอนนี้จะมีเรื่องที่ต้องคำนึงถึงอยู่เพียงเรื่องเดียว คือ การควบคุมคุณภาพผลงานให้ออกมาตรงกับ เพลตมากที่สุด โดยจะแบ่งออกมาเป็น 2 ขั้นตอน คือ-การเตรียมพิมพ์ เป็นขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบสำหรับพิมพ์ เช่น กระดาษตามที่นักออกแบบกำหนดมา และหมึกที่จะใช้พิมพ์ รวมทั้งการกำหนดค่าต่างๆสำหรับเครื่องพิมพ์-การพิมพ์ เป็นขั้นตอนการพิมพ์โดยในขั้นตอนนี้จะเป็นการพิมพ์ ด้วยขั้นตอนการยิงสีลงไปบนกระดาษทีละสีตามเพลตที่เตรียมไว้ โดยพิมพ์ทับกันไปทีละสีจนได้ผลลัพธ์ตามที่กำหนดไว้ในตอนต้นขั้นตอนหลังการพิมพ์ (POst press)ขั้นตอนหลังจากพิมพ์เรียบร้อยแล้วเป็นการเก็บ รายละเอียดเช่น ขั้นตอนการเข้าร7ูปเล่ม และขั้นตอนการเคลือบปก ขั้นตอน หลังการพิมพ์ พอจะแยกออกเป็นส่วนต่างๆ ได้ ดังนี้-การเคลือบและตกแต่งผิว หลังจากที่ได้งานพิมพ์ซึ่งเป็นงานอยู่บนกระดาษแผ่นใหญ่ๆ มาแล้วขั้นตอนต่อไปโรงพิมพ์ก็จะเคลือบผิว หรือตกแต่งผิวด้วยเทคนิคพิเศษต่างๆ การเคลือบผิวหรือตกแต่งผิวด้วยทคนิคพิเศษ ต่างๆจะขึ้นอยู่กับโรงพิมพ์ ว่าสามารถทำได้ หรือไม่แต่โดยทั่วไปแล้วโรงพิมพ์จะเคลือบ และตกแต่งผิวด้วยเทคนิค ที่เป็นมาตรฐานเหล่านี้ได้ เช่น ปั๊มแผ่นฟอยล์มปั๊มนูนมเคลือบ UV ทำ SPOT UV เป็นต้น-การไดคัต เป็นขั้นตอนนำงานพิมพ์ที่ได้มาตัดขอบส่วนเกินทิ้ง ดพื่อเตรียมสำหรับนำไปเข้ารูปเล่ม สำหรับงานบางประเภท เช่น งานทำฉลากสินค้าที่ไม่ได้รูปทรงเป็นสี่เหลี่ยม ต้องการให้โรงพิมพ์ไดคัตออกมาเป็นรูปทรงตามที่กำหนดไว้ ก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับขั้นตอนการไดคัตนี้เพิ่มไปต่างหาก-การเข้ารูปเล่ม เป็นขั้นตอนการนำผลลัพธ์ที่ได้มาพับและตัดออกให้เรียงเป็นจำนวนหน้าที่ต้องการ หลังจากนั้นจึงนำไปเย็บรวมกันด้วยวิธีเข้ารูปเล่มที่นักออกแบบกำหนด เช่น การเย็บกี่ หรือการไสกาวหลังจากขั้นตอนนี้เราก็จะได้งานพิมพ์ที่สมบูรณ์
เทคนิคการพิมพ์
ในปัจจุบันนอกจากการพิมพืตามปกติแล้ว นักออกแบบยังสามารถ เลือกเทคนิคการพิมพ์แบบพิศษ เข้ามาใช้เพื่อเพิ่มความน่าสนใจ ให้กับผลงานที่ทำได้อีกด้วย
ตัวอย่างการพิมพ์เทคนิคแบบพิเศษที่โรงพิมพ์มาตรฐานสามารถทำได้ เช่น
ตัวอย่างการพิมพ์เทคนิคแบบพิเศษที่โรงพิมพ์มาตรฐานสามารถทำได้ เช่น
-เคลือบ UV เป็นการเคลือบผิวกระดาษด้วยน้ำยาเงาและทำให้แห้งด้วยแสงยูวี ให้ความเงาสูงกว่าแบบวานิช
-เคลือบ PVC เงา เป็นการเคลือบผิวกระดาษด้วยฟิมล์พีวีซีที่มีผิวมันวาวให้ความเรียบและเงาสูง และเงากว่าการเคลือบ UV แต่ก็มีต้นทุนสูงกว่า
-เคลือบวานิชเคลือบผิวกระดาษให้เงาด้วยวานิช ให้ความเงาไม่สูงมากนัก ใช้เพื่อป้องกันหมึกพิมพ์และผิวกระดาษจากการเสียดสีและให้ความเงางาม
-เคลือบ PVC ด้าน เป็นการเคลือบผิวกระดาษด้วยฟิล์มพีวีซีที่มีผิวด้านคล้ายผิวของกระจกฝ้า-เคลือบเงาเฉพาะจุด (Spot UV) เป็นการเคลือบเงาเฉพาะบางบริเวณ เช่นตัวอักษรสำคัญ หรือภาพที่ต้องการเน้น โดยมีการเคลือบส่วนอื่นๆเป็น PVC ด้าน-ปั๊มไดคัต (Die cutting) เป็นการตัดกระดาษให้ขาดตามรูปทรงที่นักออกแบบกำหนดมา-ปั๊มนูน (Embossing) เป็นการกดกระดาษให้นูนขึ้นตามรูปทรงที่นักออกแบบกำหนดมา-ปั๊มลึก (Debossing) ตรงข้ามกับปั๊มนูนคือ ปั๊มให้จมลงไปมากกว่าพื้นผิวปกติ-ปั๊มฟอยเงิน/ทอง (Foil/Hot Stamping) เป็นการรีดกระดาษฟอยล์เงิน,ทองหรือลายอื่นๆ ลงบนกระดาษมักจะใช้เน้นส่วนสำคัญ เช่น กรณีที่ต้องการตัวอักษรสีทอง ต้องการขอบทองบนปกเป็นต้นที่มา :http://www.ksvision.co.th/kn_color.html
ที่มา : http://goo.gl/7Q3w9W