วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2558

รู้จักกับฟิ ล์มลามิเนต (Laminated Films)


     ฟิล์มพลาสติกสามารถผลิตได้จากเม็ดพลาสติก หลายชนิด ทั ง Polyester (PET), Polypropylene (PP), Polyethylene (HDPE, LDPE, LLDPE) PolyvinylChloride (PVC) โดยฟิ ล์มที่ผลิตจากพลาสติกแต่ละชนิด จะมีคุณลักษณะเฉพาะตัวตามคุณสมบัติของฟิล์มที9 แตกต่างกันออกไป เช่น คุณสมบัติทนความร้อน ป้ องกัน การกัดกร่อนจากสารเคมี ป้ องกันไฟฟ้ าสถิตย์ การหดตัว เมื่อโดนความร้อน การป้ องกันการซึมผ่านของก๊าซ อ๊อกซิเจนหรือคาร์บอนไดออกไซด์ ปัจจุบันฟิ ล์ม พลาสติกได้ถูกนํามาใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรม บรรจุภัณฑ์ เช่น นํามาผลิตเป็ นถุงพลาสติก ซองพลาสติก หรือถูกนํามาทอเป็ นกระสอบเป็ นต้น โดย ฟิ ล์มพลาสติกที่ใช้สําหรับผลิตบรรจุภัณฑ์สามารถผลิต ได้จากฟิ ล์มหลากหลายประเภทขึ้ นอยู่กับความต้องการของผู้ผลิต เช่น ฟิ ล์มยืด ฟิล์มหด และฟิล์มลามิเนต (Laminated Films) ก็เป็นหนึงในฟิล์มหลายๆ ประเภทที่ได้รับความนิยมในการนํามาใช้ผลิตเป็ นบรรจุภัณฑ์ใน ปัจจุบัน




ฟิล์มลามิเนต
     ลามิเนต (Laminate) ตามความหมายในพจนานุกรม มีความหมายว่า “การทําให้เป็นแผ่นบางๆ, ประกอบด้วยชั้นบางๆ”เช่นเดียวกับฟิล์มพลาสติกลามิเนตก็หมายถึง แผ่นฟิล์มพลาสติกที่ผ่านกระบวนการลามิเนตโดยการนําฟิล์มพลาสติกหลายๆ ชั้นมาเคลือบติดเข้าด้วยกันเป็นฟิล์มแผ่นเดียว หรือการเคลือบฟิล์มพลาสติกเข้ากับวัสดุอื่นๆ เช่น กระดาษหรือฟอยล์โลหะ โดยทําการยึดติดระหวางชั้ นฟิล์มด้วยการใช้ความร้อน หรือใช้กาว (adhesive) โดยฟิล์มลามิเนตจะมีจํานวนชั้ น ของฟิล์มมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับตามความต้องการของผู้ผลิต วัตถุประสงค์ของการผลิตฟิล์มลามิเนตในช่วงแรกก็เพื่อต้องการให้ลวดลายหรือตัวอักษรที่พิมพ์ลง ไปบนฟิล์มนั้ นสามารติดอยู่บนฟิล์มได้นานขึ้ นโดยการนําแผ่นฟิล์มมาเคลือบติดบนฟิล์มอีกแผ่นหนึ่งที่ผ่าน กระบวนการพิมพ์ลวดลายหรือตัวอักษรลงไป เพื่อ ป้องกันลวดลายของฟิล์มไม่ให้ลบเลือนจากปัจจัย ภายนอก เช่น การขีดข่วน นําและความชื้น ซึ่งการลามิเนตจะช่วยให้ลวดลายที่พิมพ์ลงไปบนฟิล์มสามารถติดทนนาน ทําให้สินค้ามีความสวยงามดูน่าใช้อีกทั้งยังช่วยยืดอายุของสินค้า (Shelf Life) ให้นานขึ้ น สําหรับวัตถุประสงค์ของการผลิตฟิล์มลามิเนต ในปัจจุบันนั้ นก็ยังคงคํานึงถึงความสวยงามค่วบคู่ไปกับ คุณภาพของฟิล์มไปพร้อมๆกัน เนื่องจากในปัจจุบัน ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์มีแนวโน้มการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก ทดแทนบรรจุภัณฑ์ประเภทอื่นๆ เช่น ขวดแก้ว กระดาษ หรือกระป๋องโลหะมากขึ นเรื่อยๆ ประกอบกับผู้บริโภค เองก็มีแนวโน้มที่จะให้ความสําคัญในเรื่องสุขภาพ อนามัยและด้านคุณภาพของสินค้ามากขึ้ น ผู้ผลิตบรรจุ ภัณฑ์จําเป็นต้องผลิตบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่สามารถตอบสนองกับความต้องการของตลาด ซึ่งเทคโนโลยีการผลิตฟิล์มลามิเนตในปัจจุบันมีการพัฒนาไปมาก โดย สามารถนําฟิล์มที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันมาผ่าน กระบวนการลามิเนตเพื่อที่จะให้ได้ฟิล์มที่มีคุณภาพสูงมากขึ้ น ช่วยในด้านการปกป้องสินค้าที่บรรจุภายในให้ รักษาคุณภาพภาพเอาไว้ รวมถึงรูปลักษณ์ของบรรจุ ภัณฑ์ที่จะต้องดูสวยงามดึงดูดให้ผู้บริโภคมาซื้อสินค้า

ประเภทของฟิล์มสําหรับการลามิเนต
     ประเภทของฟิล์มที่นํามาเข้ากระบวนการลามิเนตจะขึ้ นอยู่กับการนําไปใช้เป็นบรรจุภัณฑ์หรือ ส่วนประกอบสําหรับสินค้าประเภทอะไร และบรรจุภัณฑ์ หรือสินค้าประเภทดังกล่าวต้องการคุณสมบัติในด้าน ใดบ้าง เมื่อทราบความต้องการดังกล่าวแล้วจึงจะ สามารถเลือกประเภทของฟิล์มให้เหมาะสมและมี คุณสมบัติตรงตามความต้องการเพื่อทําการลามิเนตต่อไป
     เภทของฟิล์มและวัสดุที9นิยมนํามาผลิตฟิล์มลา มิเนตสําหรับบรรจุภัณฑ์มีดังนี

  • ฟิล์ม Polyethylene : PE  ส่วนใหญ่นิยมใช้ฟิ ล์ม LDPE และฟิล์ม LLDPE ในชั นในสุดหรือชั นที9สัมผัลกับอาหารโดยตรง โดย ฟิ ล์ม PE ให้คุณสมบัติยืดหยุ่นได้ดี ทนความร้อนได้ สามารถใช้กับกระบวนการปิ ดผนึกด้วยความร้อนได้ (Heat Sealing) และยังสามารถต้านทานต่อการกัด กร่อนจากสารเคมีและการกัดกร่อนจากกรดบาง ประเภทได้ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ ถุงเย็น ถุงซิป ฟิ ล์มยืด ฟิล์มหด ฟิล์มคลุมดิน 
  • ฟิล์ม Polypropylene: PP  ฟิล์ม PP ที่นิยมใช้ในกระบวนการลามิเนตคือ ฟิล์ม CPP (Cast Polypropylene Film) และ ฟิล์ม BOPP (Biaxially Oriented Polypropylene Film) ซึ่งฟิล์มทั้ งสองชนิดมีคุณสมบัติโดดเด่นมากทั งใน ด้านความใส ผิวมันวาว เหนียว ทนต่อแรงดึง ไม่มี ไฟฟ้ าสถิตย์ กันน ้ำได้ดี ฟิล์ม CPP และ BOPP มักถูกใช้ควบคู่กันโดย CPP จะทําหน้าที่เป็นชั้ นเคลือบ เพื่อให้อาหารหรือสินค้าที่บรรจุปลอดภัยจาก ผลกระทบของสีที่พิมพ์ลงบน BOPP ฟิล์ม ตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ฟิล์มหุ้มซองบุหรี
  • ฟิล์ม Polyester : PET  ฟิล์ม PET ที่นํามาใช้ในการลามิเนตคือฟิล์ม BOPET (Biaxially Oriented Polyethylene Terephthalate) มีผิวที่เงางาม เรียบ มีความใส ทนทานต่อการฉีกขาดหรือการกดกระแทกรักษา รูปทรงได้ดีในอุณหภูมิระดับต่างๆ ทนความร้อนสูง สามารถใช้กับไมโครเวฟได้ ทนทานต่อความชื้ น ทนสารเคมีและตัวทําละลายได้หลากหลายประเภท สามารถป้องกันการซึมผ่านของก๊าซต่างๆ ได้ดี และ มีคุณสมบัติในการถนอมและรักษากลิ่นของอาหาร และรักษาความกรอบของขนมขบเคี ยวได้ดีกว่าฟิล์ม BOPP ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อน ฟิล์มสําหรับแผงโซลาเซลล์
  • ฟิล์ม Nylon, Polyamide : PA  ฟิล์ม PA ที่นิยมนํามาใช้ในการลามิเนตก็คือ ฟิล์ม BOPA (Biaxially Oriented Polyamide Film) มีคุณสมบัติที่ดีในการต้านทานการรั่วซึม ทนต่ออุณภูมิร้อน-เย็น มีความเหนียวเป็นพิเศษ BOPA จึง สามารถนํามาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์สูญญากาศ สําหรับบรรจุอาหารได้ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์สูญญากาศสําหรับอาหารแช่แข็ง ถุงข้าวสาร
  •  ฟิล์ม Metalized  เป็นฟิล์มพลาสติกที่ผ่านกระบวนการฉาบด้วย โลหะอลูมิเนียม (Aluminum) ทําให้ซองบรรจุภัณฑ์ มีสีสันแวววาว กันการซึมผ่านของก๊าซได้ดี ช่วยยืดอายุของสินค้าภายในได้ดีกว่าแผ่นฟิล์มชนิดธรรมดา ฉะนั้ นฟิล์ม Metalized จึงเหมาะกับการนําไปใช้งาน ในด้านบรรจุภัณฑ์เป็นอย่างมาก โดยฟิล์ม Metalized ที่นิยมใช้ในการลามิเนตได้แก่ M-BOPA (Metalized Nylon Film), M-CPP (Metalized Cast Polypropylene Film) M-PET (Metalized Polyester Film) เป็ นต้น ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ ซองขนม ซองกาแฟสําเร็จรูป 3in1
  • ฟอยล์อลูมิเนียม Aluminum Foil  ฟอยล์อลูมิเนียมมีคุณสมบัติสําหรับการผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ดีที่สุดถ้าเทียบกับฟิล์มพลาสติก ชนิดอื่นๆ ตามที่กล่าวมาข้างต้น แต่ก็มีราคาแพง ที่สุดเช่นกัน โดยฟอยล์อลูมิเนียมมีคุณสมบัติในการ ป้องกันได้ทั้งก๊าซต่างๆ กันการซึมผ่านของก๊าซนํากลิ่น น้ำมัน และแสง ได้อย่างดีเยี่ยม ทําให้สามารถปกป้องและถนอมผลิตภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ภายในได้ ยาวนานกว่า ฟิล์มชนิดอื่นๆ อลูมิเนียมฟอยล์ใช้ได้ กับบรรจุภัณฑ์อาหาร ยา ฯลฯ ทั งที่เป็นของแข็งและ ของเหลว ถ้าหากผลิตภัณฑ์กัดกร่อนได้ก็ยังสามารถ เคลือบฟอยล์อลูมิเนียมด้วยสารอื่นๆที่ทนต่อการกัด กร่อน ได้และผิวของฟอยล์อลูมิเนียมก็มีความมัน วาวสวยงามเช่นเดียวกับฟิล์ม Metalized อีกด้วย
ขอขอบคุณที่มา : http://goo.gl/dw29uC

วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558

มหกรรม OTOP และท่องเที่ยว กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2

ภาพจาก : www.futurepark.co.th

สินค้าต่างๆภายในงาน
ภาพจาก : www.futurepark.co.th

ตัวผมหน้าร้านโรลออนสารส้มจากจังหวัดลพบุรี

วันที่ 26 ตุลาคม ผมได้เข้าไปชมงาน "มหกรรม OTOP และท่องเที่ยว กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2" ที่Alive Park Hall หน้าศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ครังสิต ภายในงานสามารถชม ช้อป ชิม สินค้าโอทอป นิทรรศการท่องเที่ยว ของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน ได้แก่จังหวัดลพบุรี ชัยนาท อ่างทอง และสิงห์บุรี

บรรกาศหน้างาน
ภาพโดย : สุริยนต์   อรรถาเวช:2558

บรรกาศหน้างาน
ภาพโดย : สุริยนต์   อรรถาเวช:2558

ทางเข้างาน
ภาพโดย : สุริยนต์   อรรถาเวช:2558

บรรกาศภายในงาน
ภาพโดย : สุริยนต์   อรรถาเวช:2558

สินค้าโรลออนสารส้ม จาก จังหวัดลพบุรี
ภาพโดย : สุริยนต์   อรรถาเวช:2558

สินค้าโรลออนสารส้ม จาก จังหวัดลพบุรี
ภาพโดย : สุริยนต์   อรรถาเวช:2558

วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บรรจุภัณฑ์มีทั้งหมด กี่ประเภท ?

ประเภทของบรรจุภัณฑ์สามารถแบ่งได้หลายวิธีตามหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ดังนี้
1. แบ่งตามวิธีการบรรจุและวิธีการขนถ่าย
2. แบ่งตามวัตถุประสงค์ของการใช้
3. แบ่งตามความคงรูป
4. แบ่งตามวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ 
1. แบ่งตามวิธีการบรรจุและวิธีการขนถ่าย
     1.1 บรรจุภัณฑ์เฉพาะหน่วย (Individual Package)
 คือ บรรจุภัณฑ์ที่สัมผัสอยู่กับผลิตภัณฑ์ชั้นแรก เป็นสิ่งที่บรรจุผลิตภัณฑ์เอาไว้เฉพาะหน่วยโดยมีวัตถุประสงค์ขั้นแรกคือ เพิ่มคุณค่าในเชิงพาณิชย์ (To Increase Commercial Value) เช่น การกำหนดให้ มีลักษณะพิเศษเฉพาะหรือทำให้มีรูปร่างที่เหมาะแก่การจับถือ และอำนวยความสะดวกต่อการใช้ผลิตภัณฑ์ภายใน พร้อมทั้งทำหน้าที่ให้ความปกป้องแก่ผลิตภัณฑ์โดยตรงอีกด้วย

  1.2. บรรจุภัณฑ์ชั้นใน (Inner Package) คือ บรรจุภัณฑ์ที่อยู่ถัดออกมา
เป็นชั้นที่สอง มีหน้าที่รวบรวมบรรจุภัณฑ์ขั้นแรกเข้าไว้ด้วยกันเป็นชุด ในการจำหน่ายรวมตั้งแต่ 2 – 24 ชิ้นขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์ขั้นแรก คือ การป้องกันรักษาผลิตภัณฑ์จากน้ำความชื้น ความร้อน แสง แรงกระทบกระเทือน และอกนวยความสะดวกแก่การขายปลีกย่อยเป็นต้น ตัวอย่างของบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้ ได้แก่ กล่องกระดาษแข็งที่บรรจุเครื่องดื่มจำนวน 1 โหล , สบู่ 1 โหล เป็นต้น

 1.3. บรรจุภัณฑ์ชั้นนอกสุด (Out Package) คือ
บรรจุภัณฑ์ที่เป็นหน่วยรวมขนาดใหญ่ที่ใช้ในการขนส่ง โดยปกติแล้วผู้ซื้อจะไม่ได้เห็นบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้มากนัก เนื่องจากทำหน้าที่ป้องกันผลิตภัณฑ์ในระหว่างการขนส่งเท่านั้นลักษณะของบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้ ได้แก่ หีบ ไม้ ลัง กล่องกระดาษขนาดใหญ่ที่บรรจุสินค้าไว้ภายใน ภายนอกจะบอกเพียงข้อมูลที่จำเป็นต่อการขนส่งเท่านั้น เช่น รหัสสินค้า (Code)เลขที่ (Number) ตราสินค้า สถานที่ส่ง เป็นต้น

  2. แบ่งตามวัตถุประสงค์ของการใช้
บรรจุภัณฑ์เพื่อการขายปลีก (Consumer Package) เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ผู้บริโภคซื้อไปใช้ไป อาจมีชั้นเดียวหรือหลายชั้นก็ได้ ซึ่งอาจเป็น Primary Package หรือSecondary Package ก็ได้   บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง (Shopping หรือ Transportation Package)เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้รองรับหรือห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ขั้นทุติยภูมิ ทำหน้าที่รวบรวมเอาบรรจุภัณฑ์ขายปลีกเข้าด้วยกัน ให้เป็นหน่วยใหญ่ เพื่อความปลอดภัยและความสะดวกในการเก็บรักษา และการขนส่ง เช่น กล่องกระดาษลูกฟูกที่ใช้บรรจุยาสีฟัน กล่องละ 3 โหล
3. แบ่งตามความคงรูป

3.1. บรรจุภัณฑ์ประเภทรูปทรงแข็งตัว (Rigid Forms)
ได้แก่ เครื่องแก้ว (Glass Ware) เซรามิคส์ (Ceramic) พลาสติกจำพวก Thermosetting ขวดพลาสติก ส่วนมากเป็นพลาสติกฉีด เครื่องปั้นดินเผา ไม้และโลหะ มีคุณสมบัติแข็งแกร่งทนทานเอื้ออำนวยต่อการใช้งาน และป้องกันผลิตภัณฑ์จากสภาพแวดล้อมภายนอกได้ดี

 3.2. บรรจุภัณฑ์ประเภทรูปทรงกึ่งแข็งตัว (Semirigid Forms)
ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกอ่อน กระดาษแข็งและอลูมิเนียมบาง คุณสมบัติทั้งด้านราคา น้ำหนักและการป้องกันผลิตภัณฑ์จะอยู่ในระดับปานกลาง
3.3. บรรจุภัณฑ์ประเภทรูปทรงยืดหยุ่น (Flexible Forms)
ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุอ่อนตัว มีลักษณะเป็นแผ่นบาง ได้รับความนิยมสูงมากเนื่องจากมีราคาถูก ( หากใช้ในปริมาณมากและระยะเวลานาน ) น้ำหนักน้อย มีรูปแบบและโครงสร้างมากมาย

4. แบ่งตามวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ 
การจัดแบ่งและเรียกชื่อบรรจุภัณฑ์ในทรรศนะของผู้ออกแบบ ผู้ผลิต หรือนักการตลาดจะแตกต่างกันออกไป บรรจุภัณฑ์แต่ละประเภทก็ตั้งอยู่ภายใต้วัตถุประสงค์หลักใหญ่(Objective Of Package) ที่คล้ายกันคือ เพื่อป้องกันผลิตภัณฑ์ (To Protect Products)เพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ (To Distribute Products) เพื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์(To Promote Products)

ที่มา : https://goo.gl/BsBGug